ricefamily.greenishgroup.netricefamily.greenishgroup.net
ricefamily.greenishgroup.net
จำหน่ายสินค้าอาหารโภชนาการสูงที่ได้มาตราฐานปลอดสารพิษ กับเกษตรกรตัวจริง

news-banner

0 2561 4970
  • หน้าแรก
  • ร้านค้าชุมชน
  • แค็ตตาล็อกสินค้าข้าว
  • ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ
  • เมนูสุขภาพ
  • เกร็ดความรู้
  • ติดต่อเรา
 
  • หน้าแรก
  • ร้านค้าชุมชน
  • แค็ตตาล็อกสินค้าข้าว
  • ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ
  • เมนูสุขภาพ
  • เกร็ดความรู้
  • ติดต่อเรา

ข้าวกล้องงอก คืออะไร ประโยชน์และสรรพคุณของข้าวกล้องงอก

มกราคม 25, 2017เกร็ดความรู้By Sireerat

ในปัจจุบันข้าวนอกจากเป็นอาหารหลักของคนไทยแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออกชั้นดีที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมายาวนาน และยิ่งไปกว่านั้นเกษตรกรไทยยังสามารถเพิ่มมูลค่าข้าวให้แก่ชุมชนและประเทศด้วยการแปรรูปข้าวอย่างข้าวกล้องงอก ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานและได้ประโยชน์มากกว่าข้าวกล้องธรรมดา ช่วยเพิ่มราคาจำหน่ายเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรไทย

ข้าวกล้องงอกคืออะไร?
ข้าวกล้องงอก (Germinated brown rice) หรือ GABA – rice คือ การนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก (ข้าวกล้องที่จุ่มน้ำจะมีรากงอกออกมาเหมือนกับที่เราปลูกถั่วงอก) เมล็ดข้าวกล้องงอกประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดหรือแกลบ ในเมล็ดมีจมูกข้าวหรือคัพภะ รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าวขาวหรือข้าวสาร ซึ่งกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้บริโภค เนื่องจากข้าวกล้องงอกนั้นมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของเรามากมาย

ประโยชน์ของข้าวกล้องงอก
ในข้าวกล้องงอกมีสารอาหารมากมายแต่ที่เป็นหัวใจสำคัญของข้าวกล้องงอกคือ GABA (Gamma aminobutyric acid) หรือกาบา ซึ่งเป็นกรดอะมิโน ผลิตจากกระบวนการ Decarboxylation ของกรดกลูตามิก โดยกรดนี้จะทำหน้าที่สื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลางของเรา กาบาจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ช่วยให้สมองผ่อนคลาย นอนหลับสบาย และไปกระตุ้นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อต่างๆ ของเรา

โดยในข้าวกล้องงอกจะมีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติถึง 15 เท่าเลยทีเดียว ช่วยป้องกันการทำลายสมอง เพราะมีสารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าทางการแพทย์ได้นำสารกาบานี้มาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ เช่น การนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล หรือลมชัก เป็นต้น

นอกจากกาบาแล้วยังมีผลวิจัยว่าข้าวกล้องงอกช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำหนัก ช่วยให้ผิวพรรณดี ตลอดจนมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟีโนลิค ป้องกันการเกิดฝ้า ชะลอความแก่ ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิว รวมทั้งออริซานอล ที่ช่วยควบคุมปรับระดับฮอร์โมนในวัยทอง และมีกากใยอาหารช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้ และลดอาการท้องผูก เป็นต้น

 

วิธีทำข้าวกล้องงอกง่ายๆด้วยตนเอง
– คัดเลือกพันธุ์ข้าวดีที่มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 6 เดือน และผ่านการกะเทาะเปลือกไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ รวมทั้งไม่บรรจุในถุงสุญญากาศ (มีการวิจัยว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เหมาะในการทำข้าวกล้องงอก เพราะมีสารกาบามากที่สุด) สามารถใช้ข้าวกล้องหลายชนิดรวมกันได้
– หลังจากนั้นซาวน้ำแล้วแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง
– เสร็จแล้วเทข้าวกล้องลงในผ้าขาวบางแล้วห่อคลุมให้มิดชิด พรมน้ำให้พอชุ่ม จากนั้นวางทิ้งไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก 1 คืน
– เมื่อเปิดผ้าขาวบางออกก็จะเห็นจมูกข้าวงอกขึ้นมาเป็นตุ่มเล็กๆ สามารถนำไปหุงรับประทานได้ตามปกติ

นอกจากนี้ข้าวกล้องงอกยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ ได้ เช่น อาหารว่าง เครื่องดื่ม และซุป เป็นต้น สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์ เพราะในข้าวกล้องงอกมีสารยูริคจำนวนมากทำให้ปวดตามข้อต่างๆในร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ข้าวกล้องงอกก็นับเป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรไทยที่มีคุณค่าด้านโภชนาการสูง และสามารถทำรับประทานกันเองได้ง่ายๆที่บ้านอีกด้วย

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก www.เกร็ดความรู้.net

GABAGABA riceกาบาข้าวกล้องงอกน้ำข้าวกล้องงอกประโยชน์วิธีทำน้ำข้าวกล้องงอก
About the author

Sireerat

Related posts
การใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์
มกราคม 29, 2017
ส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์
มกราคม 29, 2017
การขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
มกราคม 29, 2017
ข้าวกล้อง คุณค่าทางอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณของข้าวกล้อง
มกราคม 25, 2017
Recent posts
  • ข้าวปั้นเพาะงอกสามเหลี่ยม
    พฤษภาคม 24, 2017
  • ข้าวผัดไรซ์เบอร์รี่กุ้ง
    พฤษภาคม 24, 2017
  • ข้าวกล้องคลุกสับปะรดใส่อกไก่
    พฤษภาคม 24, 2017
  • ข้าวเขากลาง
    พฤษภาคม 24, 2017
  • ข้าวเจ็กเชยเสาไห้
    พฤษภาคม 24, 2017
  • เบอร์ติดต่อ:
    +66 2561 4970
  • อีเมล์:
    sireerat_rice@hotmail.com

Find us on:

FacebookTwitterGoogle+DribbblePinterest
  • สำนักบริหารกลาง
  • สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าว
  • กองวิจัยและพัฒนาข้าว และศูนย์วิจัยข้าว 28 แห่ง
  • กองเมล็ดพันธุ์ข้าว และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 23 แห่ง
  • กองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว
  • สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว
  • กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • กองประสานงานโครงการพระราชดําริ
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
ricefamily.greenishgroup.net
Copyright © by ricefamily.com 2016

สงวนลิขสิทธิ์ โดยกรมการข้าว